การใช้มาตรวัดความเจ็บปวด

มาตรวัดความเจ็บปวด

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน การประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วย เป็นบทบาทหนึ่งของพยาบาลที่จะทำการประเมินและจัดการกับความเจ็บปวดให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม พี่เนิร์สอยากมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่พยาบาลใช้ประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วยแต่ละราย เราเรียกเครื่องมือนี้ว่า มาตรวัดความเจ็บปวด มาติดตามดูกันได้เลยค่ะ

มาตรวัดความเจ็บปวด หมายถึง เป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดความเจ็บปวด เนื่องจากความเจ็บปวดเป็นนามธรรม ไม่อาจจับต้องได้บางครั้งผู้ป่วยเป็นเด็กเล็ก ผู้ป่วยวิกฤต หรือผู้ป่วยที่ขยับเขยื้อนไม่ได้ เป็นต้น จำเป็นที่เราต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมในการวัดสำหรับผู้ป่วยเหล่านี้

เครื่องมือในการประเมินความปวด ได้แก่

  1. Neonatal Infant Pain Scale (NIPS) สำหรับทารกแรกเกิดถึง 1 ปี
  2. Face Leg Activity Crying Consolidation ; FLACC Scales สำหรับผู้ป่วยเด็กอายุ1 ปีขึ้นไปถึง 3 ปี และผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติทางสมอง
  3. FACE Scales สำหรับผู้ป่วยเด็กอายุ 3 ปี ขึ้นไปจนถึง 8 ปี และผู้ใหญ่ที่รู้สึกตัว สติสัมปชัญญะสมบูรณ์แต่ไม่สามารถบอก Numeric Rating scales ได้
  4. Numeric Rating scales (NRS) ใช้ประเมินผู้ป่วยที่มีอายุ 8 ปีขึ้นไป
  5. Behavioral Pain Assessment Scale สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยตนเองได้ในหอผู้ป่วยวิกฤต

1. Neonatal Infant Pain Scale (NIPS) สำหรับทารกแรกเกิดถึง 1 ปี

ทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 1 ปี สามารถประเมินระดับความปวดได้โดยใช้ Neonatal Infant Pain Scale (NIPS) เมื่อประเมินระดับความเจ็บปวดด้วยวิธีนี้ แล้วรวบรวมคะแนน (จะสามารถรวมคะแนนความเจ็บปวดได้ตั้งแต่ 0-7 คะแนน) คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 4 บ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีความเจ็บปวดต้องให้ยา

2. Face Leg Activity Crying Consolidation ; FLACC Scales

สำหรับผู้ป่วยเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไปถึง 3 ปี และผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติทางสมอง เมื่อประเมินระดับความเจ็บปวดด้วยวิธีนี้ แล้วรวบรวมคะแนน (จะสามารถรวมคะแนนความเจ็บปวดได้ตั้งแต่ 0-10 คะแนน) โดย

0 = ผ่อนคลาย
1-3 = ปวดเล็กน้อย
4-6 = ปวดปานกลาง
7-10 =ปวดมาก

FACE Scales

3. FACE Scales

สำหรับผู้ป่วยเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไปจนถึง 8 ปี และผู้ใหญ่ที่รู้สึกตัว สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ แต่ไม่สามารถบอก Numeric Rating scales ได้ เครื่องมือตรวจเป็นรูปหน้าที่มีความสุข เศร้า และร้องไห้ ให้ผู้ป่วยดูรูปภาพและชี้/บอกให้ทราบว่าขณะนี้รู้สึกว่าอาการปวด อยู่ในภาพใด (ห้ามใช้รูปใบหน้าในแบบประเมินเปรียบเทียบกับใบหน้าของผู้ป่วย)

การแปลผล

  • 0 หมายถึง ไม่มีอาการปวด
  • 2 หมายถึง ปวดเล็กน้อย ไม่มีความกังวล ไม่มีความรู้สึกทุกข์ทรมานแต่อย่างใด
  • 4 หมายถึง ปวดเล็กน้อย แต่เริ่มรู้สึกทุกข์ทรมานจากอาการปวดพอสมควร
  • 6 หมายถึง ปวดปานกลาง รู้สึกทุกข์ทรมานจากอาการปวดพอสมควร มีความกังวลมากขึ้น พักผ่อนได้ไม่เพียงพอ เริ่มมีความรู้สึกว่าไม่สามารถทนได้
  • 8 หมายถึง ปวดมาก รู้สึกทุกข์ทรมานจากอาการปวดมาก ทำให้เกิดความกังวลมากและไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้
  • 10 หมายถึง ปวดรุนแรงจนไม่สามารถทนได้

4. Numeric Rating scales (NRS)

ใช้ประเมินผู้ป่วยที่มีอายุ 8 ปีขึ้นไป เป็นการใช้ตัวเลขมาช่วยบอกระดับความรุนแรงของอาการปวด ชุดตัวเลข จาก 0 – 10 คะแนน อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจก่อนว่า 0 หมายถึงไม่มีอาการปวด และ 10 คือปวดมากที่สุด ให้ผู้ป่วยบอกถึงตัวเลขที่แสดงถึงความปวดที่ผู้ป่วยมีขณะนั้นๆ

การแปลผล

  • คะแนน 0 ไม่ปวดเลย
  • คะแนน 1-3 แสดงว่าไม่ปวดถึงปวดเล็กน้อย
  • คะแนน 4-6 แสดงว่าปวดปานกลาง
  • คะแนน 7-10 แสดงว่าปวดมากถึงปวดมากที่สุด

5. Behavioral Pain Assessment Scale

*การประเมินความตึงตัวของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีปัญหาไขสันหลัง ให้ทำเหนือระดับที่มีการบาดเจ็บ ประเมินผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกด้านที่ไม่เป็นโรค
**ไม่สามารถประเมินการส่งเสียงในผู้ป่วยที่มีการช่วยหายใจ กรณีผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจให้เป็น ไม่ส่งเสียงผิดปกติ

การประเมินความเจ็บปวดจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย

*สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยตนเองได้ในหอผู้ป่วยวิกฤต หรือผู้ป่วยที่ระดับความรู้สึกตัวน้อยลง ไม่สามารถบอกระดับความปวดได้ด้วยตนเอง โดยดัดแปลงจาก FLACC scale สามารถใช้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยใช้การสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย แล้วให้รวมคะแนนรวม

  • 0 = ไม่มีหลักฐานว่าปวด
  • 1-3 = ปวดน้อย
  • 4-6 = ปวดปานกลาง
  • 7 ขึ้นไป = ปวดรุนแรง
  • คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 4 ให้จัดการความเจ็บปวด

ก่อนจะลากันไป พี่เนิร์สอยากฝากข้อสำคัญในการประเมินความเจ็บปวด ดังนี้ค่ะ

ถ้าสามารถให้ผู้ป่วยประเมินความเจ็บปวดด้วยตนเองได้จะดีที่สุด กรณีที่สงสัยว่าปวดจริงหรือไม่ การให้ยาแก้ปวดอาจช่วยทั้งการวินิจฉัยและการรักษาความเจ็บปวดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

แหล่งข้อมูล :

เสาวนิตย์ กมลวิทย์,ปิ่นอนงค์ รัตนปทุมวงศ์.(2557). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการจัดการความปวดในผู้ป่วย
หลังผ่าตัดในโรงพยาบาลระนอง.วารสารกองการพยาบาล,41(2),23-40.

นุสรา ประเสริฐศรี,ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์.(2556). การจัดการความปวด:ความหลากหลายวัฒนธรรม.วารสารการพยาบาล
และการศึกษา,6(2),2-9.

วรางคณา อ่ำศรีเวียง.(2558). การจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤต:บทบาทที่ท้าทายสำหรับพยาบาล.วารสารการพยาบาล
ทางการศึกษา,8(2),1-8.

อนงค์ สุทธิพงษ์,อัจฉรา อ่วมเครือ,ปาริฉัตร อารยะจารุ.(2556). การพัฒนาระบบการจัดการความปวดที่มีเฉพาะต่อผู้ป่วย
โรงพยาบาลราชบุรี.วารสารกองการพยาบาล,40(3),85-99.

ปิยศักดิ์ วิทยบูรณานนท์,หฤทัย โชติสุขรัตน์.(2559). ความปวดในเด็ก.วิชรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง
,60(2),135-145.

Tsze DS, Hirschfeld G, von Baeyer CL, Bulloch B, Dayan PS. Clinically significant differences in acute pain measured on self-report pain scales in children. Acad Emerg Med. 2015 Apr;22(4):415-22. doi: 10.1111/acem.12620. Epub 2015 Mar 13.

Tsze DS, Hirschfeld G, Dayan PS, Bulloch B, von Baeyer CL. Defining No Pain, Mild, Moderate, and Severe Pain Based on the Faces Pain Scale-Revised and Color Analog Scale in Children With Acute Pain. Pediatr Emerg Care. 2016 May 25.

Related Articles

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

12 ท่าแพลงก์ยอดฮิต ลดพุงวันละนิด 4 สัปดาห์เห็นผล

ท่าแพลงก์ เป็นหนึ่งในท่าการออกกำลังกายที่คนนิยมมากที่สุด เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ และเป็นท่าที่เห็นผลอย่างมีประสิทธิภาพ หากทำบ่อยๆอย่างมีวินัย ก็สามารถฟิต แอนด์ เฟิร์มร่างกายได้ วันนี้พี่เนิร์สจะมาแนะนำ 12 ท่าแพลงก์ทำตามไม่ยากค่ะ 1. ท่าแพลงก์ปกติ (Basic Plank) วิธีฝึก 1. เริ่มต้นด้วยท่านอนคว่ำ เหยียดตัวตรง เกร็งคอ และศีรษะลอยจากพื้น 2. ตั้งศอกทั้ง 2…

เตรียมของไหว้ตรุษจีนอย่างไรให้บรรพบุรุษถูกใจ

โดยทั่วไป ของไหว้ หลักๆ ในวันตรุษจีนมักจะประกอบไปด้วยผลไม้มงคล ขนมมงคล อาหารเจ อาหารมงคล ขนมจันอับ ธูป เทียน ข้าวสวย น้ำชา กระดาษเงิน กระดาษทอง พี่เนิร์สจะขออธิบายส่วนหลักๆ ที่ควรรู้ว่าต้องซื้ออะไรบ้าง ที่เป็นสิ่งมงคล ลูกหลานพึงใจและบรรพบุรูษถูกใจ มาดูกันเลย ผลไม้มงคล ตรุษจีน 5 หรือ 7 อย่าง…

Dopamine injection

รูปแบบยาและความแรง : Dopamine injection 200 mg/5ml (40mg/ml) ,50mg/5ml (10mg/ml) Inopin (Dopamine) 250 mg/10 ml (25mg/ml), 500mg/10 ml (50 mg/ml) *** ควรมีการตรวจสอบรูปแบบที่มีอยู่ในแต่ละโรงพยาบาล กลุ่มยาทางเภสัชวิทยา : Cardiogenic drug…