เรื่องน่ารู้ระดับความดัน

เรื่องน่ารู้ระดับความดัน

รู้หรือไม่⁉️ ระดับความดันที่เหมาะสมควรมีค่าเท่าไหร่ ถึงจะไม่เสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง วันนี้พี่เนิร์สมีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วค่ะ

ความดันโลหิต คือ แรงดันเลือดที่ส่งออกจากหัวใจห้องล่างซ้ายเข้าสู่ระบบหลอดเลือดแดง เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งหัวใจคนเราจะเต้น 60-80 ครั้งต่อนาที ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัวและลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว

เรื่องน่ารู้ระดับความดัน

ค่าความดันโลหิต จะประกอบไปด้วย

  • ค่าความดันตัวบน (Systolic Blood Pressure, SBP) เป็นค่าความดันโลหิตสูงที่สุด เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว
  • ค่าความดันตัวล่าง (Diastolic Blood Pressure, DBP) เป็นค่าความดันโลหิตต่ำที่สุด เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัว

‍โดยปกติแล้ว ระดับความดันโลหิตที่ปกติควรจะอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่ถ้าวัดความดันแล้วได้ค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ถือว่ามีโอกาสเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง (Hypertension) ควรรีบไปพบแพทย์

เพราะถ้าไม่รีบรักษาภาวะความดันโลหิตสูง อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคไต ฯลฯ

ที่มา : สมาคมความดันโลหิตสูง แห่งประเทศไทย

Related Articles

คำย่อภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค

พยาบาลนอกจากดูแลสุขภาพของผู้ป่วยแล้ว อีกหนึ่งหน้าที่ที่สำคัญคือ การอ่านข้อมูลที่บันทึกอยู่ในเวชระเบียน ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มารับบริการตรวจและรักษาโรคในโรงพยาบาล

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

29 กันยายน วันหัวใจโลก

29 กันยายนของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น วันหัวใจโลก (World Heart Day) จัดขึ้นเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประชากรโลก

8 อาหารตัวการทำหน้าแก่

1. คาร์โบไฮเดรตขัดขาว & น้ำตาลขัดขาว น้ำตาลเมื่อเข้าไปในร่างกายมากเกินไป ก็จะไปจับกับโปรตีนแล้วเกิดปฏิกิริยาไกลเดชั่น (AGEs) ก่อให้เกิดสารเร่งแก่ ส่งผลให้เซลล์เสื่อมสภาพ สูญเสียคอลลาเจน และเกิดริ้วรอยได้ง่าย ทำให้แก่เร็วขึ้น ไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา / วัน 2. อาหารที่มีไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ ได้แก่ เนยเทียม ครีมเทียม และไขมันทอดซ้ำ…

Responses