5Ps ของอาการ Compartment syndrome (ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง)

5P ของอาการ Compartment syndrome

Compartment syndrome เป็นภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง ความดันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในเนื้อเยื่อ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดลดลงหรือหยุดลง และทำให้เซลล์ของกล้ามเนื้อไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็น

ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง สามารถพบได้ทั้งในภาวะวิกฤตและเรื้อรัง หากมีอาการรุนแรงจนไม่มีเลือดไปเลี้ยงเซลล์ของกล้ามเนื้อ ก็อาจนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะ การติดเชื้อในกระแสเลือด และการเสียชีวิตได้

ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง?

  • กระดูกหัก
  • การได้รับบาดเจ็บต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการบวมของกล้ามเนื้อหรือมีเลือดออก
  • การกดทับจากการรัดของเฝือกหรือการพันผ้า

อาการของภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง เป็นผลจากการทำงานของระบบประสาทและหลอดเลือดที่ผิดปกติ สามารถประเมินอาการโดยใช้หลัก 5Ps ดังนี้

2 Early signs อาการแสดงเริ่มต้น :

  • Pain – อาการปวดแบบแสบร้อนรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้ได้รับยาบรรเทาอาการปวดก็ตาม แต่อาการก็ยังไม่ทุเลา สามารถประเมินได้จากการสังเกตหรือการสอบถาม
  • Paresthesia – อาการชา อ่อนแรง เกิดจากระบบประสาทส่วนปลายถูกกดหรือขาดเลือดไปเลี้ยง สามารถประเมินได้จากการรับสัมผัสบริเวณส่วนต้นและส่วนปลายของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ

3 Classic signs อาการแสดงทั่วไป :

  • Pulseless – ไม่มีชีพจร สามารถประเมินได้จากการคลำชีพจรส่วนปลายของส่วนที่ผิดปกติ
  • Pallor – การซีด เกิดจากเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายลดลง สามารถประเมินได้จากสีผิว ริมฝีปาก เปลือกตา และเล็บ
  • Paralysis – อาการอัมพาตของกล้ามเนื้อ เกิดจากระบบประสาทและหลอดเลือดส่วนปลายขาดเลือดไปเลี้ยง สามารถประเมินได้จากการเคลื่อนไหวหรือขยับนิ้ว
5P ของอาการ Compartment syndrome

หลักการดูแลภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง

1) การประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง โดยใช้หลัก 5 Ps
2) การติดตามความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง มักมีความสัมพันธ์กับระดับความดันไดแอสโตลิกลดตํ่าลง หรือการตรวจวัดด้วยเครื่องมือพิเศษเพื่อวัดความดันในช่องกล้ามเนื้อโดยตรง ค่าปกติของความดันในช่องกล้ามเนื้อมีค่าอยู่ระหว่าง 0-8 mmHg หากมีความดันตั้งแต่ 10-30 mmHg ควรได้รับการผ่าตัดเพื่อทํา fasciotomy
3) การลดความดันภายในช่องกล้ามเนื้อ ได้แก่ การคลายผ้ายืด การคลายเฝือก หรือการผ่าตัด Fasciotomy
4) การจัดท่านอนโดยให้อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บยกสูงขึ้น เพื่อเพิ่มการไหลกลับของเลือดดําเข้าสู่หัวใจ และป้องกันอาการบวม
5) การบันทึกรายละเอียดข้อมูลของผู้ป่วยทั้งที่ได้จากการซักประวัติและการสังเกต เพื่อประเมินอาการความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง

แหล่งที่มา : บทความวิชาการ ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง (แนวคิดและการปฏิบัติการพยาบาล), แพทยศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Related Articles

Responses