5Ps ของอาการ Compartment syndrome (ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง)

5P ของอาการ Compartment syndrome

Compartment syndrome เป็นภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง ความดันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในเนื้อเยื่อ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดลดลงหรือหยุดลง และทำให้เซลล์ของกล้ามเนื้อไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็น

ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง สามารถพบได้ทั้งในภาวะวิกฤตและเรื้อรัง หากมีอาการรุนแรงจนไม่มีเลือดไปเลี้ยงเซลล์ของกล้ามเนื้อ ก็อาจนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะ การติดเชื้อในกระแสเลือด และการเสียชีวิตได้

ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง?

  • กระดูกหัก
  • การได้รับบาดเจ็บต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการบวมของกล้ามเนื้อหรือมีเลือดออก
  • การกดทับจากการรัดของเฝือกหรือการพันผ้า

อาการของภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง เป็นผลจากการทำงานของระบบประสาทและหลอดเลือดที่ผิดปกติ สามารถประเมินอาการโดยใช้หลัก 5Ps ดังนี้

2 Early signs อาการแสดงเริ่มต้น :

  • Pain – อาการปวดแบบแสบร้อนรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้ได้รับยาบรรเทาอาการปวดก็ตาม แต่อาการก็ยังไม่ทุเลา สามารถประเมินได้จากการสังเกตหรือการสอบถาม
  • Paresthesia – อาการชา อ่อนแรง เกิดจากระบบประสาทส่วนปลายถูกกดหรือขาดเลือดไปเลี้ยง สามารถประเมินได้จากการรับสัมผัสบริเวณส่วนต้นและส่วนปลายของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ

3 Classic signs อาการแสดงทั่วไป :

  • Pulseless – ไม่มีชีพจร สามารถประเมินได้จากการคลำชีพจรส่วนปลายของส่วนที่ผิดปกติ
  • Pallor – การซีด เกิดจากเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายลดลง สามารถประเมินได้จากสีผิว ริมฝีปาก เปลือกตา และเล็บ
  • Paralysis – อาการอัมพาตของกล้ามเนื้อ เกิดจากระบบประสาทและหลอดเลือดส่วนปลายขาดเลือดไปเลี้ยง สามารถประเมินได้จากการเคลื่อนไหวหรือขยับนิ้ว
5P ของอาการ Compartment syndrome

หลักการดูแลภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง

1) การประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง โดยใช้หลัก 5 Ps
2) การติดตามความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง มักมีความสัมพันธ์กับระดับความดันไดแอสโตลิกลดตํ่าลง หรือการตรวจวัดด้วยเครื่องมือพิเศษเพื่อวัดความดันในช่องกล้ามเนื้อโดยตรง ค่าปกติของความดันในช่องกล้ามเนื้อมีค่าอยู่ระหว่าง 0-8 mmHg หากมีความดันตั้งแต่ 10-30 mmHg ควรได้รับการผ่าตัดเพื่อทํา fasciotomy
3) การลดความดันภายในช่องกล้ามเนื้อ ได้แก่ การคลายผ้ายืด การคลายเฝือก หรือการผ่าตัด Fasciotomy
4) การจัดท่านอนโดยให้อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บยกสูงขึ้น เพื่อเพิ่มการไหลกลับของเลือดดําเข้าสู่หัวใจ และป้องกันอาการบวม
5) การบันทึกรายละเอียดข้อมูลของผู้ป่วยทั้งที่ได้จากการซักประวัติและการสังเกต เพื่อประเมินอาการความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง

แหล่งที่มา : บทความวิชาการ ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง (แนวคิดและการปฏิบัติการพยาบาล), แพทยศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Related Articles

การใช้มาตรวัดความเจ็บปวด

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน การประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วย เป็นบทบาทหนึ่งของพยาบาลที่จะทำการประเมินและจัดการกับความเจ็บปวดให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม พี่เนิร์สอยากมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่พยาบาลใช้ประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วยแต่ละราย เราเรียกเครื่องมือนี้ว่า มาตรวัดความเจ็บปวด มาติดตามดูกันได้เลยค่ะ มาตรวัดความเจ็บปวด หมายถึง เป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดความเจ็บปวด เนื่องจากความเจ็บปวดเป็นนามธรรม ไม่อาจจับต้องได้บางครั้งผู้ป่วยเป็นเด็กเล็ก ผู้ป่วยวิกฤต หรือผู้ป่วยที่ขยับเขยื้อนไม่ได้ เป็นต้น จำเป็นที่เราต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมในการวัดสำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ เครื่องมือในการประเมินความปวด ได้แก่ Neonatal Infant Pain…

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

เตรียมของไหว้ตรุษจีนอย่างไรให้บรรพบุรุษถูกใจ

โดยทั่วไป ของไหว้ หลักๆ ในวันตรุษจีนมักจะประกอบไปด้วยผลไม้มงคล ขนมมงคล อาหารเจ อาหารมงคล ขนมจันอับ ธูป เทียน ข้าวสวย น้ำชา กระดาษเงิน กระดาษทอง พี่เนิร์สจะขออธิบายส่วนหลักๆ ที่ควรรู้ว่าต้องซื้ออะไรบ้าง ที่เป็นสิ่งมงคล ลูกหลานพึงใจและบรรพบุรูษถูกใจ มาดูกันเลย ผลไม้มงคล ตรุษจีน 5 หรือ 7 อย่าง…

การประเมินแผลกดทับ

แผลกดทับ คือ การบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับการเกิดแผลกดทับมักพบในผู้ป่วยที่มีการนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน นอนติดเตียง ไม่ค่อยพลิกตะแคงตัว หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวจนเกิดแผลกดทับที่ผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก เช่น กระดูกก้นกบ กระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลัง ข้อศอกและส้นเท้า เป็นต้น ระดับของแผลกดทับตาม National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP), April 13, 2016 1.ระดับ1…

Responses