ระวัง ! อย่าทิ้งเด็กไว้ในรถ

จากข่าวเด็กติดอยู่ในรถ อาจจะคิดว่าที่เด็กมีอาการโคม่า
เป็นเพราะขาดอากาศหายใจเนื่องจากประตูหน้าต่างปิดสนิท แต่ความเป็นจริงแล้ว
เด็กส่วนใหญ่ที่ติดอยู่ในรถไม่ได้เสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจ
แต่เป็นเพราะความร้อนภายในรถที่สูงขึ้นต่างหาก
ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก

โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายว่า หากเด็กเข้าไป อยู่ในรถที่จอดอยู่กลางแดดเพียงแค่ 5 นาที
อุณหภูมิภายในรถก็จะสูงขึ้นจนไม่สามารถทนอยู่ได้แล้ว หากติดนานเกิน 10 นาที ร่างกายก็จะยิ่งแย่
และถ้าอยู่นานถึง 30 นาที ก็อาจเสียชีวิตได้ เพราะปกติร่างกายของคนเราจะรักษาอุณหภูมิไว้ที่ 37
องศาเซลเซียส แต่เมื่อติดอยู่ในรถที่มีความร้อน ร่างกายก็จะขับความร้อนออกมาในรูปของเหงื่อ
หากอุณหภูมิภายในรถยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็จะถึงจุดที่
ร่างกายทนไม่ไหวทำให้กระบวนการขับความร้อนของร่างกายที่มาในรูปของเหงื่อหยุดทำงาน
เมื่อกระบวนการขับความร้อนหยุดทำงาน เด็กจะเกิดภาวะเลือดเป็นกรด ช็อก หมดสติสมองบวมตามมา
จากนั้นอาจหยุดหายใจ และอวัยวะทุกอย่างก็จะหยุดทำงาน
การจะตรวจสอบว่าเด็กติดอยู่ในรถนานแล้วหรือไม่นั้น ให้ดูจากลักษณะร่างกาย
หากเด็กติดอยู่ในรถยังไม่นาน เด็กจะมีสภาพตัวแดงๆ
อยู่แต่ถ้าเด็กติดในรถเป็นเวลานานแล้วจะมีลักษณะตัวซีด เพราะเลือดเป็นกรด
และอวัยวะหยุดทำงานแล้วนั่นเอง

กรมควบคุมโรคแนะนำผู้ปกครอง พนักงานขับรถรับ-
ส่งนักเรียนและครูอาจารย์ให้เตือนตนเองใน 3 ข้อควรจำ เพื่อป้องกันการลืมเด็กไว้ในรถ ดังนี้ “นับ
ตรวจตรา อย่าประมาท”

  1. นับ จำนวนเด็กก่อนขึ้น และหลังลงจากรถทุกครั้ง
  2. ตรวจตรา ก่อนล็อคประตูรถ ตรวจดูให้ทั่วรถ
  3. อย่าประมาท อย่าทิ้งเด็กไว้เพียงลำพัง แม้ว่าจะลงไปทำธุระเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆก็ตาม

แหล่งอ้างอิง : the bangkok insign,

https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/general/146798/
Kapook,
https://baby.kapook.com/view60125.html

Related Articles

วิธีขับรถลุยน้ำท่วม (ไม่ให้ดับ-พัง)

จากสถานการณ์ฝนตกหนัก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ วันนี้เรามี 6 เทคนิค เตรียมพร้อมหากผู้ใช้รถจำเป็นต้องขับรถลุยน้ำท่วม เพื่อป้องกันรถดับและเครื่องพัง ดังนี้ 1.ปิดแอร์รถยนต์ทันที   ปิดแอร์รถจะช่วยลดระดับน้ำที่กระจายเข้าห้องเครื่องได้ถึงครึ่งเลยทีเดียว   เพราะพัดลมแอร์จะพัดน้ำเข้าไปในเครื่องทำให้มีโอกาสน็อกได้   และควรระวังขยะที่ลอยมากับน้ำจะเข้าไปติดมอเตอร์พัดลม  อาจทำให้ระบบระบายความร้อนในเครื่องยนต์พังได้เช่นกัน 2.ใช้เกียร์ต่ำ  เพื่อประคองเครื่องยนต์ไม่ให้ดับ หากเป็นรถยนต์เกียร์ออโต้ให้ใช้เกียร์ L รถยนต์เกียร์ธรรมดาให้ใช้เกียร์ 1 หรือ 2 3.เคลื่อนรถช้าๆลดความเร็ว  เพราะน้ำที่กระแทกฟุตบาทจะกลับเข้ารถ…

สูตรตื่นนอนสดชื่น อยากตื่นตอนนี้ควรนอนตอนไหน

ปกติแล้วคนเราควรนอนประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน ถึงจะทำให้ร่างกายตื่นมาสดชื่นที่สุด แต่เคยมั้ยที่นอนครบ 8 ชั่วโมงก็แล้ว หรือ บางวันก็นอนเร็วแล้วนะ ไม่ได้นอนดึกเลย ทั้งๆ ที่เราก็นอนเต็มอิ่มแล้ว แต่ทำไมตื่นแล้วกลับรู้สึกง่วง รู้สึกเหนื่อย ไม่สดชื่น หรือบางทีก็ยังเพลียตลอดทั้งวัน !? วันนี้เราไปทำความรู้จักกับ กฎการนอน 90 นาที ที่ว่ากันว่าการใช้วิธีนี้ จะช่วยทำให้เพื่อนๆ ตื่นมาแล้วไม่เพลีย แถมรู้…

Dopamine injection

รูปแบบยาและความแรง : Dopamine injection 200 mg/5ml (40mg/ml) ,50mg/5ml (10mg/ml) Inopin (Dopamine) 250 mg/10 ml (25mg/ml), 500mg/10 ml (50 mg/ml) *** ควรมีการตรวจสอบรูปแบบที่มีอยู่ในแต่ละโรงพยาบาล กลุ่มยาทางเภสัชวิทยา : Cardiogenic drug…

CPR การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (ผู้ใหญ่/เด็ก/ทารก)

การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน CPR คืออะไร? CPR ย่อมาจากคำว่า Cardiopulmonary resuscitation หมายถึง ปฏิบัติการช่วยชีวิตยามฉุกเฉินเพื่อให้ปอดและหัวใจฟื้นคืนชีพขึ้นมา ก่อนถึงมือแพทย์เพื่อให้การรักษาเฉพาะต่อไป การทำ CPR เป็นวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยคืนชีวิตให้กับผู้ป่วย โดยผสมผสานระหว่าง การผายปอด เพื่อช่วยเพิ่มอากาศเข้าไปในปอด การกดหน้าอกบนตำแหน่งหัวใจ เพื่อช่วยให้หัวใจปั๊มเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนส่งต่อออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ เมื่อไหร่ถึงจะทำ CPR?การทำ CPR มักจะใช้สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินที่หมดสติ…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…